วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎ๊โน๊ตสากล ตอนที่ 1PDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย ตาเรน   
     โน๊ตสากล  เป็นภาษาดนตรีที่ใช้ได้ทั่วโลก...ถ้าสามารถเล่นดนตรีประกอบอ่านโน๊ตสากลได้ 
ก็ตระเวนท่องเที่ยวและแสดงฝีมือทางดนตรีได้ทั่วโลก...การคิดและทำความเข้าใจในตัวโน๊ต...
เกิดความคิดสร้างสรรใหม่ ๆในด้านดนตรี...สร้างเสียงดนตรีทำนองแปลก ๆ ใหม่ ๆ ไม่แน่นักว่า
จะดังเปรี๊ยงปร๊างขึ้นมา..ทันตาเห็น..ยิ่งเรียนยิ่งสนุก...
    บ๊ะ..ชักอยากเรียนแล้วซิ...ป๊ะ..ไปเรียนกันเล๊ย.ย..ย..ของฟรี  อยู่ที่นี่เด้อครับเด้อ..อิ..อิ..

The Staff, Clefs, and Ledger Lines

Grand Staff
 บรรทัด 11 เส้น  แบ่งเป็น 2 กลุ่มเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น

Clefs 
เป็นกุญแจซอล 5 เส้น
เป็นกุญแจฟา   5 เส้น
โดยมีเส้นที่ 6 เชื่อมระหว่างกุญแจซอล และ กุญแจฟา เรียกว่า เส้นน้อย

 Ledger Lines
ตัวโน๊ตที่วางอยู่ในกุญแจ ซอล และกุญแจ ฟา
                      http://youtu.be/MCRP5cOYcSs  วีดีโอ note#1

 Note Duration = ลักษณะตัวโน๊ตต่าง ๆ

 ตัวโน๊ต     http://www.youtube.com/watch?v=iIOVYGHsVhc&feature=g-upl  = วีดีโอ..ตอนที่ 2 อธิบายตัวโน๊ต
            
 Measures and Time Signature = อัตตราส่วนโน๊ต 
 http://www.youtube.com/watch?v=OWFp2jdTcLg&feature=youtu.be = วีดีโอ.ตอนที่ 3 อัตราส่วนโน๊ต

Rest Duration = ตัวหยุด

ตัวหยุดชนิดต่าง ๆ

 Dot = โน๊ตปะจุด = ให้เล่นเสียงเพิ่มอีกครึ่งเสียงของโน๊ตตัวหน้า
Tie = ไทซ์โยง = ให้เล่นเสียงเพิ่มอีกตามตัวโน๊ตที่มีไทซ์โยง
(ส่วนมากโยงระหว่างเส้นกั้นห้อง หรือเส้นสมมติกลางห้อง)

Imagine line = เส้นสมมติ
 imagine line = เส้นสมมติ  คือเส้นที่นักดนตรีจินตนาการขึ้นมาก่อนเข้าจังหวะที่ 3  เพื่อให้การ
อ่านโน๊ตไม่ผิดส่วนโน๊ต หรือไม่ผิดจังหวะ  และอ่านง่ายขึ้น  งงเด๊ะ  งง.. ซิ..งง.. อิ..อิ..

ดู 2 ภาพนี้
เขียนโน๊ตผิด..เพราะเขียนโน๊ตไม่มีเส้นสมมติ...

เขียนโน๊ตถูกต้อง...เพราะมีเส้นสมมติ
ทีนี้ก็เข้าใจแล้วว่า...เส้นสมมติคือเส้นหยั๋ง..อิ..อิ..เฮ้อ..โล่ง
           
Flat, Sharp, Natural
Flat = ต่ำลงครึ่งเสียง                         Double flat = ต่ำลง 1 เสียง
Sharp = สูงขึ้นครึ่งเสียง                     Double sharp = สูงขึ้น 1 เสียง
Natural = เล่นโน๊ตปกติ
  


ตัวอย่างอัตราส่วนโน๊ตใน 1 บาร์ หรือ 1 ห้อง 


กฎหลัก  (สำคัญมาก) 

ระยะห่างของเสียง 1 เสียงเต็ม  เฉพาะ 3-4 และ 7-8 ห่างกัน ครึ่งเสียง
กฎนี้นำไปใช้กับระดับเสียงอื่น ๆ ได้ทั้ง 12 เสียง

 ระยะห่างของเสียง 1 เสียงเต็ม  เฉพาะ 2-3 และ 5-6 ห่างกัน ครึ่งเสียง

สำหรับชื่อเรียกประจำตัวโน๊ตแต่ละตัวนี้..ก็จำผ่าน ๆ ไปก่อนละกันเน๊าะ..

กุญแจเสียง  สำคัญมาก..จะค่อย ๆ อธิบายนะครับ

อธิบาย   0 หรือ เนเจอร์รัล  คือบรรไดเสียง C (โด)  จะไม่มีแฟล๊ท หรือ ชาร์ฟ
              ติดมาในบรรไดเสียงนี้ 
              (อยู่ในกฎหลัก C เมเจอร์ หรือกฎจากเครื่องดนตรี เอาเปียโนเป็นกฎ)
หมายเหตุ  แฟล๊ท = ให้ค่าเป็น ลบ -
                  ชาร์ฟ  = ให้ค่าเป็น บวก +  

Key Signature = กุญแจเสียง (บันไดเสียงต่าง ๆ)


ตัวอย่าง คีย์ ฟา (F major)
จากกฎ 1-2-3   และ3-4 =ครึ่งเสียง 
             4-5-6-7 และ 7-8 =ครึ่งเสียง
    ดูตามภาพ จะเห็นว่า  เริ่มด้วย ฟา     เป็นตัวที่ 1
                                                   ซอล  เป็นตัวที่ 2
                                                   ลา     เป็นตัวที่ 3
กฎ บังคับให้ 3-4 = ครึ่งเสียงแต่ตามภาพนี้ 3-4 = 1 เสียง ตัว ซี (B) จึงต้องแคบเข้าครึ่งเสียง
      จึงกลายเป็น           Bb (ซีแฟล๊ต)  เป็นตัวที่ 4
                                                   โด     เป็นตัวที่ 5
                                                    เร      เป็นตัวที่ 6
                                                     มี     เป็นตัวที่ 7
                                                     ฟา   เป็นตัวที่ 8
      ดูตามภาพจะเห็นว่า 7-8 อยู่ตามกฎของเสียง (เครื่องดนตรี) อยู่แล้ว

      เอ...งงป่าวหว่า..??

      ถ้าไม่งง...ลองซ้อมมือเขียนคีย์ต่าง ๆ ตามรูปบันไดเสียงดูครับ
หรือจะลองกดคีย์เปียโนดู  ก็ยิ่งจะเข้าใจเร็วขึ้นครับ...เช่น

      คีย์ ซอล...(G)  เริ่มด้วยตัว  ซอล  เป็นตัวที่ 1  ก็ไล่เรียงขึ้นไปให้ได้ตามกฎเมเจอร์
ดูซิว่าตัวโน๊ตจะพาเราจรไปติดคีย์แฟล๊ต หรือ ชาร์ฟ  ตัวไหนบ้าง
      ภาษานักดนตรี ก็จะบอกกันว่า  คีย์ 1 ชาร์ฟ,  คีย์ 1 แฟล๊ต, คีย์ 2 ชาร์ฟ, คีย์ 3 แฟล๊ต
จนกระทั่งถึง 5 แฟล๊ต  5 ชาร์ฟ .หรือ 7 แฟล๊ต 7 ชาร์ฟ..เป็นต้น...เอ้า...ลองทำดูครับ
พอทำได้ เข้าใจ ก็จะสนุกไปเรื่อย ๆ ทีเดียว..อิ..อิ.. 
 photo musictheory_zpse139c114.jpg 

Generic Intervals  ขั้นคู่เสียง 
 สำคัญ  เพราะเครื่องดนตรีที่ระดับเสียงไม่เหมือนกัน...ต้องการให้ออกเสียงเดียวกัน
หรือประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน...หลายชิ้น

ระดับเสียง Cmajor  จากคู่ที่ 1  ตามละดับจนถึงคู่ที่ 8
โดยยึดหลักจากแผนภูมินี้...เป็นกฎ  ใช้เรียกคู่เสียงหรือเทียบเคียงขั้นคู่
ในระดับเสียงอื่น ๆ

ตัวอย่างนี้  C major,    D major,  E major....

Specific Intervals = ขั้นคู่เสียงพิเศษ
  เมื่อตัวโน๊ตตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป  มาใช้งานร่วมกัน  ก็เกิดขั้นคู่เสียงขึ้น  ทำให้เกิดเสียง
เมเจอร์  ไมเนอร์ หรือเพอร์เฟ๊ก  จึงต้องนำมาทำความเข้าใจก่อนครับ

คู่ 2 เมเจอร์  และแคบเข้ามาครึ่งเสียง  เป็น คู่ 2 ไมเนอร์

คู่ 2 เมเจอร์

คู่ 3 เมเจอร์

คู่ 4 เพอร์เฟค

คู่ 5 เพอร์เฟค

คู่ 6 เมเจอร์

คู่ 7 เมเจอร์

คู่ 8 เพอร์เฟค  คือ โด ถึง โด

minor intervals
ชื่อเรียก คู่เมเจอร์  เมื่อแคบเข้าครึ่งเสียง  เป็นคู่ไมเนอร์...
ชื่อเรียก คู่เพอร์เฟค  เมื่อกว้างออกครึ่งเสียง  เป็นคู่อ๊อคเมนเตด...

ตัวอย่างคู่ไมเนอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น